เสมือนคลังข่าวสารหรือกล่องเก็บสาระดีเอาไว้
วันนี้เป็นวันแรกของการมีชีวิตของ Blog นี้ เราจะ update ข่าวสารอะไรบ้างของวันแรก
มาดูกัน ^_^
Wii U เกมส์คอนโซลใหม่จาก Nintendo
รายงานพิเศษจากงาน E3 นินเทนโด (Nintendo) ประกาศเปิดตัวเกมส์คอนโซล (console) รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า Wii U แทนที่จะเป็นชื่อ Wii 2 หรือ Nintendo Beem อย่างที่ตกเป็นข่าวลือก่อนหน้านี้ โดย Wii U ได้รับการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยใหม่อย่างแท้จริงนั่นคือ มันมีลักษณะคล้าย "แท็บเล็ต"
Wii U เป็นเครื่องเล่นเกมส์ที่มีดีไซน์คล้าย "แท็บเล็ต" โดยมาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสขนาด 6.2 นิ้ว ภายในมีเซ็นเซอร์ Gyroscope ซึ่งทำให้หน้าจอสามารถสลับทิศทางการแสดงผลได้ตามการวางตั้งเครื่องเล่น สามารถใช้เล่นได้ทั้งเกมส์คนเดียว และแบบมัลติเพลยเยอร์ (multiplayer games) ได้ โดย Wii U จะให้ประสบการณ์ใหม่ในการเล่นเกมส์ที่สนุกกว่า
Wii U เป็นเครื่องเล่นเกมส์ที่มีดีไซน์คล้าย "แท็บเล็ต" โดยมาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสขนาด 6.2 นิ้ว ภายในมีเซ็นเซอร์ Gyroscope ซึ่งทำให้หน้าจอสามารถสลับทิศทางการแสดงผลได้ตามการวางตั้งเครื่องเล่น สามารถใช้เล่นได้ทั้งเกมส์คนเดียว และแบบมัลติเพลยเยอร์ (multiplayer games) ได้ โดย Wii U จะให้ประสบการณ์ใหม่ในการเล่นเกมส์ที่สนุกกว่า
การเล่นผ่านทางทีวี อย่างไรก็ตาม Nintendo ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์มากมายนักในขณะนี้ แต่ฟังก์ชันหลายๆ อย่างของมันจะคล้ายกับ"แท็บเล็ต"ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการมีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร่ง (accelerometer) ไจโรสโคป กล้องด้านหน้า ไมโครโฟน ลำโพง และอื่นๆ อีกมากมาย ปุ่มควบคุมเกมส์จะคล้ายกับคอนโทรลเลอร์ของ Wii โดยประกอบด้วย Circle Pads 2 อัน D-Pad ปุ่ม A/B/X/Y ปุ่ม L/R และ ZL/ZR อย่างไรก็ตาม Wii U สามารถเชื่อมต่อกับ Full-HDTV 1080p ผ่านทางพอร์ต HDMI บนเครื่อง อีกทั้งตัวมันสามารถเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับ Wii Remotes หรือ Wii Remote Plus wands ได้ถึง 4 ตัวพร้อมกัน ความจริงก็คือ Wii U จะสามารถใช้งาร่วมกับ Wii games และแอคเซสซอรี่รุ่นเก่าได้ด้วยนั่นเอง นอกจากการใช้เล่นเกมส์แล้ว Wii U ยัง
สามารถทำ video call ด้วยกล้องหน้า ท่องเน็ต ตลอดจนสตรีมคอนเท็นต์อย่างเช่น ภาพถ่าย และวิดีโอขึ้นไปแสดงบนทีวี (นี่มัน..."แท็บเล็ต"ชัดๆ :D) รวมถึโต้ตอบการทำงานกับ WIi Remote ได้ Nintendo คาดว่าจะสามารถวางตลาด Wii U ได้ในปี 2012ข่าวจาก arip
หัวเว่ย 4G บนเวทีโลก
คำว่าโกอินเตอร์คือคำบรรยายสถานภาพที่เหมาะสมของยักษ์ใหญ่โลกสื่อสารแดนมังกรอย่างหัวเว่ยในนาทีนี้ ถามว่าหัวเว่ยมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้บริษัทจีนสามารถมีอิทธิพลและบทบาทเป็นผู้เล่นหลักในตลาด 4G และมีแวว"แทนที่"เจ้าตลาดฝั่งตะวันตกอย่างน่าตกใจ หนึ่งในคำตอบคือการพิสูจน์ตัวเองด้วยการปักหลักร่วมพัฒนากับพันธมิตรโอเปอเรเตอร์อย่างใกล้ชิดประเภท "ผูกกันตัวต่อตัว"
ตัวอย่างมนต์ขลังของนโยบายตัวต่อตัวที่หัวเว่ยใช้มัดใจโอเปอเรเตอร์บนเวที 4G อย่างอยู่หมัดคือกรณี "เทเลนอร์ นอร์เวย์" ที่เลือกหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย LTE เพื่อให้เทเลนอร์สามารถทดสอบนานาบริการและแอปพลิเคชัน 4G ที่กรุงออสโลว์ ประเทศนอร์เวย์
หัวเว่ยดึงพนักงานกว่า 120 คน มากกว่า 23 สัญชาติ มาทำงานร่วมกันกับเทเลนอร์พร้อมกับตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมโครงข่ายร่วมกันในชื่อ Joint Innovation Centre (JIC) โดยเช่าเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่จากสำนักงานใหญ่เทเลนอร์ในนอร์เวย์ บนโครงสร้างองค์กรคือการทำงานประกบบุคลากรเทเลนอร์ชนิด"Pair"หรือคู่กัน
จุดนี้น่าสนใจเพราะศูนย์ JIC นี้เป็นศูนย์ความร่วมมือพัฒนาโครงข่าย 4G ร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์ซึ่งมีที่ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียว แถมนอร์เวย์ยังเป็นพื้นที่เดียวที่โครงข่ายหลักของหัวเว่ยถูกติดตั้งแบบยกชุดเนื่องจากพื้นที่อื่นในเทเลนอร์กรุ๊ปก็ยังคงเลือก"อีริคสัน"เช่นในสวีเดนหรือประเทศไทยเอง โดยหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงข่าย 4G ให้เทเลนอร์สวีเดน แต่ก็ยังไม่ทิ้งอีริคสันเช่นกัน
จุดนี้มีการคาดว่าหากดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์และอีริคสันจะสร้างศูนย์พัฒนาร่วมกัน ก็คงไม่ได้ออกมาในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากรและความชำนาญด้านโครงข่ายร่วมกันเช่นนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันพัฒนาด้านแอปพลิเคชันมากกว่า
เจ้าหน้าที่ JIC ของหัวเว่ยในเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เล่าว่า ศูนย์ JIC นี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ที่ผ่านมาหลังการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์นอร์เวย์เมื่อปี 2009 ในโครงการจัดหาอุปกรณ์ในภาคเรดิโอของเครือข่ายแอลทีอี (LTE radio access) และในส่วนอุปกรณ์หลัก (EPC: Evolved Packet Core) สำหรับการทดสอบเครือข่ายแอลทีอี (LTE: Long Term Evaluation) ที่เมืองออสโล ซึ่งมีระยะเวลาโครงการต่อเนื่อง 6 ปี
หลายโครงการพัฒนาเรียบร้อยในปีที่แล้ว เช่น เทคโนโลยี LTE QoS หรือเทคโนโลยีจัดสรรแบนด์วิดท์ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แพกเกจแพงกว่าสามารถใช้งาน LTE ได้ดีกว่า สำหรับปี 2011 ศูนย์ JIC มีโครงการรออยู่มากกว่า 10 โครงการ ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 10 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 570 ล้านบาท
หัวเว่ยการันตีว่าศูนย์ JIC นี้ทำให้เทเลนอร์นอร์เวย์สามารถลดเงินทุนได้ถึง 30% เพิ่มชั่วโมงใช้งานดาต้าของลูกค้าได้มากกว่า 40% นำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเทเลนอร์มากกว่า 3% ถามว่าหัวเว่ยได้อะไรกลับมา หัวเว่ยไม่ได้บอกว่าได้ใจอย่างเดียว แต่หัวเว่ยสามารถทดสอบและพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ เพื่อการันตีตัวเองว่าเลือกหัวเว่ยแล้วไม่ผิดหวัง
ประเด็นนี้เองที่ทำให้เทเลนอร์ นอร์เวย์หันมาเลือกใช้โครงข่าย LTE ของหัวเว่ย ซึ่งการันตีว่ามีแบนด์วิดท์รวมถึง 120Mbps แน่นอนว่าหัวเว่ยจะไม่หยุดนิ่งเฉพาะที่นอร์เวย์ แต่กำลังมีแผนขยายขอบเขตงานของศูนย์ JIC ไปที่สวีเดน บังกลาเทศ และปากีสถาน
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครือข่ายหรือ Network Swap ซึ่งหัวเว่ยลงมือให้เทเลนอร์นอร์เวย์ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 900 ไซต์ในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะขยายเป็น 600 ไซต์ต่อเดือนตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางทีมงานกว่า 50 ทีม ทั้งหมดรวมทั้งการ Swap ที่เป็น Hot Swap (การเปลี่ยนเครือข่ายโดยที่เครือข่ายเก่ายังทำงานอยู่) และ Cold Swap (เปลี่ยนเครือข่ายโดยปิดเครือข่ายก่อน) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะไปได้สวยในเวทีโลก แต่ในเมืองไทย หัวเว่ยก็ยังไม่สามารถครองใจบริษัทในเครือเทเลนอร์อย่างดีแทค โดยแม้หัวเว่ยจะได้รับเลือกให้ ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย 3G เพื่อทดสอบตั้งแต่ปี 2009 แต่ดีแทคก็ตัดสินใจให้อีริคสันมาเป็นซัปพลายเออร์หลักในโครงการ Network Swap อยู่ดี จุดนี้ผู้บริหารดีแทคย้ำว่าภาพความพร้อมของซัปพลายเออร์เครือข่ายในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย อีริคสันยังทำได้ดีกว่า
นอกจากเทเลนอร์ หัวเว่ยยังติดตั้งโครงข่าย LTE ให้บริษัทเทเลียโซเนอรา (TeliaSonera) ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียและกลุ่มประเทศบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเทเลนอร์ โดยความคืบหน้าล่าสุดคือการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท TELUS เพื่อตั้งศูนย์ JIC ที่แคนาดา เพื่อพัฒนาโซลูชันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบไร้สายและมีสาย ระยะเวลาโครงการคือ 3 ปี โดยหัวเว่ยถือหุ้นในศูนย์ 50%อย่างนี้ไม่เรียกโกอินเตอร์ แล้วจะเรียกว่าอะไรดี
ข่าวจาก Manager
ตัวอย่างมนต์ขลังของนโยบายตัวต่อตัวที่หัวเว่ยใช้มัดใจโอเปอเรเตอร์บนเวที 4G อย่างอยู่หมัดคือกรณี "เทเลนอร์ นอร์เวย์" ที่เลือกหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย LTE เพื่อให้เทเลนอร์สามารถทดสอบนานาบริการและแอปพลิเคชัน 4G ที่กรุงออสโลว์ ประเทศนอร์เวย์
หัวเว่ยดึงพนักงานกว่า 120 คน มากกว่า 23 สัญชาติ มาทำงานร่วมกันกับเทเลนอร์พร้อมกับตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมโครงข่ายร่วมกันในชื่อ Joint Innovation Centre (JIC) โดยเช่าเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่จากสำนักงานใหญ่เทเลนอร์ในนอร์เวย์ บนโครงสร้างองค์กรคือการทำงานประกบบุคลากรเทเลนอร์ชนิด"Pair"หรือคู่กัน
จุดนี้น่าสนใจเพราะศูนย์ JIC นี้เป็นศูนย์ความร่วมมือพัฒนาโครงข่าย 4G ร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์ซึ่งมีที่ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียว แถมนอร์เวย์ยังเป็นพื้นที่เดียวที่โครงข่ายหลักของหัวเว่ยถูกติดตั้งแบบยกชุดเนื่องจากพื้นที่อื่นในเทเลนอร์กรุ๊ปก็ยังคงเลือก"อีริคสัน"เช่นในสวีเดนหรือประเทศไทยเอง โดยหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงข่าย 4G ให้เทเลนอร์สวีเดน แต่ก็ยังไม่ทิ้งอีริคสันเช่นกัน
จุดนี้มีการคาดว่าหากดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์และอีริคสันจะสร้างศูนย์พัฒนาร่วมกัน ก็คงไม่ได้ออกมาในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากรและความชำนาญด้านโครงข่ายร่วมกันเช่นนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันพัฒนาด้านแอปพลิเคชันมากกว่า
เจ้าหน้าที่ JIC ของหัวเว่ยในเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เล่าว่า ศูนย์ JIC นี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ที่ผ่านมาหลังการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์นอร์เวย์เมื่อปี 2009 ในโครงการจัดหาอุปกรณ์ในภาคเรดิโอของเครือข่ายแอลทีอี (LTE radio access) และในส่วนอุปกรณ์หลัก (EPC: Evolved Packet Core) สำหรับการทดสอบเครือข่ายแอลทีอี (LTE: Long Term Evaluation) ที่เมืองออสโล ซึ่งมีระยะเวลาโครงการต่อเนื่อง 6 ปี
หลายโครงการพัฒนาเรียบร้อยในปีที่แล้ว เช่น เทคโนโลยี LTE QoS หรือเทคโนโลยีจัดสรรแบนด์วิดท์ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แพกเกจแพงกว่าสามารถใช้งาน LTE ได้ดีกว่า สำหรับปี 2011 ศูนย์ JIC มีโครงการรออยู่มากกว่า 10 โครงการ ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 10 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 570 ล้านบาท
หัวเว่ยการันตีว่าศูนย์ JIC นี้ทำให้เทเลนอร์นอร์เวย์สามารถลดเงินทุนได้ถึง 30% เพิ่มชั่วโมงใช้งานดาต้าของลูกค้าได้มากกว่า 40% นำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเทเลนอร์มากกว่า 3% ถามว่าหัวเว่ยได้อะไรกลับมา หัวเว่ยไม่ได้บอกว่าได้ใจอย่างเดียว แต่หัวเว่ยสามารถทดสอบและพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ เพื่อการันตีตัวเองว่าเลือกหัวเว่ยแล้วไม่ผิดหวัง
ประเด็นนี้เองที่ทำให้เทเลนอร์ นอร์เวย์หันมาเลือกใช้โครงข่าย LTE ของหัวเว่ย ซึ่งการันตีว่ามีแบนด์วิดท์รวมถึง 120Mbps แน่นอนว่าหัวเว่ยจะไม่หยุดนิ่งเฉพาะที่นอร์เวย์ แต่กำลังมีแผนขยายขอบเขตงานของศูนย์ JIC ไปที่สวีเดน บังกลาเทศ และปากีสถาน
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครือข่ายหรือ Network Swap ซึ่งหัวเว่ยลงมือให้เทเลนอร์นอร์เวย์ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 900 ไซต์ในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะขยายเป็น 600 ไซต์ต่อเดือนตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางทีมงานกว่า 50 ทีม ทั้งหมดรวมทั้งการ Swap ที่เป็น Hot Swap (การเปลี่ยนเครือข่ายโดยที่เครือข่ายเก่ายังทำงานอยู่) และ Cold Swap (เปลี่ยนเครือข่ายโดยปิดเครือข่ายก่อน) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะไปได้สวยในเวทีโลก แต่ในเมืองไทย หัวเว่ยก็ยังไม่สามารถครองใจบริษัทในเครือเทเลนอร์อย่างดีแทค โดยแม้หัวเว่ยจะได้รับเลือกให้ ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย 3G เพื่อทดสอบตั้งแต่ปี 2009 แต่ดีแทคก็ตัดสินใจให้อีริคสันมาเป็นซัปพลายเออร์หลักในโครงการ Network Swap อยู่ดี จุดนี้ผู้บริหารดีแทคย้ำว่าภาพความพร้อมของซัปพลายเออร์เครือข่ายในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย อีริคสันยังทำได้ดีกว่า
นอกจากเทเลนอร์ หัวเว่ยยังติดตั้งโครงข่าย LTE ให้บริษัทเทเลียโซเนอรา (TeliaSonera) ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียและกลุ่มประเทศบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเทเลนอร์ โดยความคืบหน้าล่าสุดคือการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท TELUS เพื่อตั้งศูนย์ JIC ที่แคนาดา เพื่อพัฒนาโซลูชันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบไร้สายและมีสาย ระยะเวลาโครงการคือ 3 ปี โดยหัวเว่ยถือหุ้นในศูนย์ 50%อย่างนี้ไม่เรียกโกอินเตอร์ แล้วจะเรียกว่าอะไรดี
ข่าวจาก Manager
TOT 3G เร็วแรง 42 Mbps
ทีโอทีจุดพลุ 3.9G เร็วแรงเกินห้ามใจ 42 Mbps โชว์โฉมใหม่ในงานเปิด TOT 3G ทั่วประเทศอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2554 ที่สยามพารากอน 'อานนท์' ยันต้องกระตุ้นเตือนตลาด ให้รับรู้ความสดใหม่ของ TOT 3G ก่อนเปิดบริการในพื้นที่เพิ่มเติมไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนเรื่องโครงสร้างเสนอบอร์ด 10 มิ.ย.นี้ ด้านการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารทำอย่างมืออาชีพ ย้ำ 'การเมืองต้องไม่แทรกแซง' หลังเปิดบริการนำร่อง TOT 3G ครั้งแรก เมื่อ 3 ธันวาคม 2552 ด้วยจำนวนสถานีฐานกว่า 500 ไซต์ และผู้ร่วมทำการตลาด (MVNO) 5 ราย มาวันนี้ ผ่านมรสุมกระบวนการจัดซื้อจัดหา จนทำให้ได้โครงข่าย 3G มูลค่า 15,999 ล้านบาทพร้อมเป้าหมายต้องเปิดให้บริการเพิ่มเติมบางส่วนในไตรมาส 3 ปีนี้
10 มิ.ย.2554 ถึงเวลาเหมาะสมที่ TOT 3G ต้องกระตุ้นตลาด รีเฟรชแบรนด์ให้ดูสดใสใหม่เอี่ยม รวมทั้งเป็นกระบวนการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ (brand awareness) ให้เกิดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั่วไป เพื่อสื่อสารกับตลาดว่าบริการ TOT 3G สามารถให้บริการด้วยความเร็วสูงสุดถึง 42 Mbps เหนือกว่าเดิมที่รับส่งข้อมูล ด้วยความเร็ว 7.2 Mbps และ 14.4 Mbps รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ได้ถูกต้อง สามารถใช้งานกับโครงข่าย TOT 3G ได้เต็มประสิทธิภาพ
ดร.อานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททีโอที กล่าวว่า ก่อนที่ TOT3G จะเริ่มให้บริการบางส่วนในไตรมาสที่ 3 ทีโอทีจำเป็นต้องกระตุ้นเตือนตลาดอีกครั้ง เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์และบริการว่าเตรียมพร้อมสู่บริการเฟสทั่วประเทศ หลังจากที่ได้เว้นช่วงระยะการทำตลาดมาช่วงหนึ่ง
รวมทั้งที่ผ่านมาทีโอทีมี MVNO 5 ราย ซึ่งได้ลงนามในลักษณะเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไม่ใช่สัญญาธุรกิจระยะยาว ซึ่งขณะนี้ทีโอทีกำลังร่างรายละเอียดแบ่งประเภท และเงื่อนไขผู้ที่จะมาเป็น MVNO ใหม่หมด โดยจะให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกทช.สามารถเสนอตัวมาให้ทีโอทีพิจารณาด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดในการได้ MVNO และความพร้อมในการเปิดบริการบางพื้นที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยปัจจุบัน TOT3G มีผู้ใช้บริการในเฟสแรกประมาณ 2 แสนเลขหมาย
ทั้งนี้ ทีโอที ได้จัดงานเปิดตัว TOT 3G ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2554 ที่ ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อให้คนไทยได้ทดสอบความเร็วเหนือระดับของ TOT 3G ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่บริการที่ความเร็ว 42 Mbps โดยภายในงานจะได้พบกับการออกร้านแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้แบรนด์ของ TOT 3G (จำนวน 4 ราย คือ สามารถ ไอ-โมบาย, ล็อกซเล่ย์,ไออีซี เทคโนโลยี และเอ็มคอนซัลท์เอเซีย รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายทั้งสมาร์ทโฟน แทบเล็ต และเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ ทั้ง โนเกีย, ซัมซุง และ HTCโครงสร้างเข้าบอร์ด 10 มิ.ย.
ดร.อานนท์ กล่าวว่า การประชุมบอร์ดทีโอทีในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ จะมีวาระเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งได้มีการปรับแก้ในรายละเอียดบางส่วนตามข้อเสนอในการประชุมบอร์ดครั้งที่ผ่านมาแล้วตามความเหมาะสม โครงสร้างใหม่นี้เพื่อทำให้องค์กรกะทัดรัดและเหมาะสมในการบริหารและการแข่งขันจากนี้ไป
ทั้งนี้ หากไม่มีปัญหาอะไรแล้ว คาดว่าโครงสร้างใหม่นี้จะผ่านการอนุมัติ แต่ในส่วนรายละเอียดของการใส่คนในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามสายงานต่างๆนั้น จะต้องพิจารณากันอีกครั้งในปลายเดือนมิ.ย.นี้ โดยในปีนี้จะมีรองกจญ.ที่เกษียณอายุ 3คน คือรองกจญ.ในสายงานภูมิภาค สายงานตรวจสอบและสายงานกิจการไร้สาย ซึ่งในขั้นต้นจะต้องมีการโอนย้ายหรือ rotation ก่อน หลังจากนั้นอาจจะมีการโปรโมตตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
'เรื่องปรับโครงสร้างตอนนี้ไปได้ดี และถือเป็น KPI ของผม ซึ่งเป็นงานแรกที่อยากเห็นองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อผลักดันการบริหารโครงการ3Gให้สำเร็จ'ส่วนการพิจารณาจัดคนลงในสายงานนั้นจะยึดถือหลักความเป็นมืออาชีพ และไม่น่าจะมีการเมืองแทรกแซง รวมทั้งจะต้องสามารถตอบปัญหาได้ทุกคำถาม เพราะในการแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเสนอตัวเป็นกจญ.ได้เสนอการปรับโครงสร้าง จากโครงสร้างเดิมที่ใหญ่และซ้ำซ้อนทำให้ในการแก้ไขปัญหาไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบโดยตรงได้
'ผมเป็นผู้บริหารมืออาชีพการเลือกคนจะถามเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องผมไม่ถาม และมั่นใจว่าจะสามารถตอบคำถามได้ทุกเรื่อง และเชื่อว่าจะไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
ข่าวจาก Manager
10 มิ.ย.2554 ถึงเวลาเหมาะสมที่ TOT 3G ต้องกระตุ้นตลาด รีเฟรชแบรนด์ให้ดูสดใสใหม่เอี่ยม รวมทั้งเป็นกระบวนการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ (brand awareness) ให้เกิดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั่วไป เพื่อสื่อสารกับตลาดว่าบริการ TOT 3G สามารถให้บริการด้วยความเร็วสูงสุดถึง 42 Mbps เหนือกว่าเดิมที่รับส่งข้อมูล ด้วยความเร็ว 7.2 Mbps และ 14.4 Mbps รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ได้ถูกต้อง สามารถใช้งานกับโครงข่าย TOT 3G ได้เต็มประสิทธิภาพ
ดร.อานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททีโอที กล่าวว่า ก่อนที่ TOT3G จะเริ่มให้บริการบางส่วนในไตรมาสที่ 3 ทีโอทีจำเป็นต้องกระตุ้นเตือนตลาดอีกครั้ง เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์และบริการว่าเตรียมพร้อมสู่บริการเฟสทั่วประเทศ หลังจากที่ได้เว้นช่วงระยะการทำตลาดมาช่วงหนึ่ง
รวมทั้งที่ผ่านมาทีโอทีมี MVNO 5 ราย ซึ่งได้ลงนามในลักษณะเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไม่ใช่สัญญาธุรกิจระยะยาว ซึ่งขณะนี้ทีโอทีกำลังร่างรายละเอียดแบ่งประเภท และเงื่อนไขผู้ที่จะมาเป็น MVNO ใหม่หมด โดยจะให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกทช.สามารถเสนอตัวมาให้ทีโอทีพิจารณาด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดในการได้ MVNO และความพร้อมในการเปิดบริการบางพื้นที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยปัจจุบัน TOT3G มีผู้ใช้บริการในเฟสแรกประมาณ 2 แสนเลขหมาย
ทั้งนี้ ทีโอที ได้จัดงานเปิดตัว TOT 3G ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน 2554 ที่ ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อให้คนไทยได้ทดสอบความเร็วเหนือระดับของ TOT 3G ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่บริการที่ความเร็ว 42 Mbps โดยภายในงานจะได้พบกับการออกร้านแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ MVNO ภายใต้แบรนด์ของ TOT 3G (จำนวน 4 ราย คือ สามารถ ไอ-โมบาย, ล็อกซเล่ย์,ไออีซี เทคโนโลยี และเอ็มคอนซัลท์เอเซีย รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายทั้งสมาร์ทโฟน แทบเล็ต และเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ ทั้ง โนเกีย, ซัมซุง และ HTCโครงสร้างเข้าบอร์ด 10 มิ.ย.
ดร.อานนท์ กล่าวว่า การประชุมบอร์ดทีโอทีในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ จะมีวาระเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งได้มีการปรับแก้ในรายละเอียดบางส่วนตามข้อเสนอในการประชุมบอร์ดครั้งที่ผ่านมาแล้วตามความเหมาะสม โครงสร้างใหม่นี้เพื่อทำให้องค์กรกะทัดรัดและเหมาะสมในการบริหารและการแข่งขันจากนี้ไป
ทั้งนี้ หากไม่มีปัญหาอะไรแล้ว คาดว่าโครงสร้างใหม่นี้จะผ่านการอนุมัติ แต่ในส่วนรายละเอียดของการใส่คนในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามสายงานต่างๆนั้น จะต้องพิจารณากันอีกครั้งในปลายเดือนมิ.ย.นี้ โดยในปีนี้จะมีรองกจญ.ที่เกษียณอายุ 3คน คือรองกจญ.ในสายงานภูมิภาค สายงานตรวจสอบและสายงานกิจการไร้สาย ซึ่งในขั้นต้นจะต้องมีการโอนย้ายหรือ rotation ก่อน หลังจากนั้นอาจจะมีการโปรโมตตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
'เรื่องปรับโครงสร้างตอนนี้ไปได้ดี และถือเป็น KPI ของผม ซึ่งเป็นงานแรกที่อยากเห็นองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเพื่อผลักดันการบริหารโครงการ3Gให้สำเร็จ'ส่วนการพิจารณาจัดคนลงในสายงานนั้นจะยึดถือหลักความเป็นมืออาชีพ และไม่น่าจะมีการเมืองแทรกแซง รวมทั้งจะต้องสามารถตอบปัญหาได้ทุกคำถาม เพราะในการแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเสนอตัวเป็นกจญ.ได้เสนอการปรับโครงสร้าง จากโครงสร้างเดิมที่ใหญ่และซ้ำซ้อนทำให้ในการแก้ไขปัญหาไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบโดยตรงได้
'ผมเป็นผู้บริหารมืออาชีพการเลือกคนจะถามเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องผมไม่ถาม และมั่นใจว่าจะสามารถตอบคำถามได้ทุกเรื่อง และเชื่อว่าจะไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
ข่าวจาก Manager
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น